วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

ประวัติแฮกเกอร์



เดิมทีคำว่า แฮกเกอร์ มิได้มีความหมายในแงลบที่หมายถึงผู้ที่ลักลอบเจาะระบบคอมพิวเตอร์ คำคำนี้ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อราว 30 ปีที่แล้วโดยกลุ่มวิศวกรและโปรแกรมเมอร์ที่ร่วมกันค้นคิดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและเครือข่ายอินเทอร์เน็ตขึ้น พวกเขาเรียกตัวเองว่าแฮกเกอร์ชาวแฮกเกอร์มีหลักการชุดหนึ่งที่ยึดถือร่วมกัน คือ

1. คอมพิวเตอร์เป็นทรัพย์สินสาธารณะที่ทุกคนสามารถใช้ได้ แก้ไข ปรับปรุง และทดลองได้
2. ข้อมูลความรู้เป็นของสาธารณะไม่ใช้ของส่วนบุคคล ไม่ควรมีราคา
3. ไม่ไว้วางใจผู้มีอำนาจ ส่งเสริมการกระจายอำนาจ
4. แฮกเกอร์ต้องถูกตัดสินจากความสามารถของเขา ไม่ใช่ด้วยวุฒิการศึกษา วัยวุฒิ ตำแหน่ง หรือเชื้อชาติ
5. ทุกคนล้วนมีสิทธิในการสร้างสรรค์สิ่งดีงามด้วยคอมพิวเตอร์
6. คอมพิวเตอร์สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นได้

พวกเขาเรียกหลักการเหล่านี้ว่า "จรรยาบรรณของแฮกเกอร์" อินเทอร์เน็ตจากกำเนิดถึงปัจจุบันแฮกเกอร์สร้างระบบอินเทอร์เน็ตขึ้นเพื่อให้เป็นพื้นที่สาธารณะอย่างแท้จริงที่ทุกคนสามารถใช้สร้างสรรค์ ทดลอง และจัดการประโยชน์ส่วนรวมร่วมกันอย่างเสรีและเท่าเทียม โดยปลอดจากการควบคุมใดๆ ไม่ว่าจะเป็นจากอำนาจรัฐหรือเอกชน

ดังนั้นพวกเขาจคงออกแบบระบบอินเทอร์เน็ตด้วยโครงสร้างที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจ เป็นระบบเปิด ( Oper Source ) ที่มอบอำนาจการจัดการทั้งหมดให้กับผู้ใช้ไม่ใช่แต่เพียงผู้เชี่ยวชาญ เชื่อมต่อกันเองได้โดยตรง ( Peer to Peer ) พร้อมกับลดอำนาจของตัวกลางในการปิดกั้นการเชื่อมต่อ ( End to End Principle )

ในช่วงเริ่มต้นนั้น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจำกัดอยู่แต่เพียงนักออกแบบคอมพิวเตอร์มืออาชีพเท่านั้น จวบจนในปี 2517 เมื่อ "อัลทาร์" ชุดอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นแรกของโลกที่ให้ผู้ใช้สามารถประกอบและดัดแปลงได้เองเริ่มออกวางขาย ทำให้เกิดประชากรนักออกแบบคอมพิวเตอร์มือสมัครเล่นขึ้นอีกมากมาย และพวกเขาก็ได้กลายเป็นสมาชิกส่วนสำคัญของชุมชนอินเทอร์เน็ตในเวลาต่อมา

และคุณเชื่อหรือไม่ว่าเมื่อมีจรรยาบรรณแฮกเกอร์แล้ว แฮกเกอร์ก็มีบัญญัติ 12 ประการ ด้วยเช่นกัน.... นั้นก็คือ

1. จงอย่าทำลายข้อมูลใด ๆ ของระบบด้วยความจงใจ

2. จงอย่าพยายามเปลี่ยนแปลงไฟล์ใด ๆ ของระบบ นอกเสียจากว่าจำเป็นต้องทำ เพื่อไม่ให้ถูกแกะรอย หรือเพื่อให้สามารถกลับมาในระบบได้อีกครั้ง
3. จงอย่าทิ้งชื่อจริง หมายเลขโทรศัพท์ไว้บนระบบที่คุณแอบเข้าไป เพราะข้อมูลเหล่านี้จะนำมาซึ่งความไม่ปลอดภัย
4. พึงระวังในการแชร์ข้อมูลกับคนที่คุณไม่รู้จักอย่างแท้จริง ไม่รู้ชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ และ อาชีพ
5. อย่าบอกหมายเลขโทรศัพท์ของคุณให้ใครทราบ

6. จงอย่าพยายามแฮกเช้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ เนื่องจากระบบเหล่านี้มักมีระบบรักษาความปลอดภัยสูงอยู่แล้ว นอกจากนี้คุณจะถูกตามล่าจนได้ ต่างจากระบบของเอกชนที่มักคำนึงถึงผลกำไรและค่าใช้จ่ายในการตามล่า ถ้าคุณไม่ได้เข้าไปทำลายข้อมูลที่สำคัญแล้ว เขาก็มักไม่เสียเวลามาตามล่าคุณ
7. ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้โค้ดหรือรหัสใด ๆ ที่ยาวเกินความจำเป็น
8. จงอย่าตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ข้อมูลใด ๆ ที่เก็บอยู่บนฮาร์ดดิสก์ให้พยายามเข้ารหัสเอาไว้เสมอ เพราะถ้าถูกจับจะไม่มีเวลาทำ พยายามซ้อนโน้ตต่าง ๆ ที่จดไว้ในที่ ๆ ปลอดภัย
9. พึ่งระมัดระวังการโพสต์ข้อมูลหรือข่าวบนกระดานข่าว ปกติแล้วแฮกเกอร์มืออาชีพจะไม่โพสต์ข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบที่เขาใช้งานอยู่ หรือถ้าจะโพสต์ก็มักไม่ระบุชัดเจน ส่วนใหญ่เป็นข้อความทั่ว ๆ ไปมากกว่า
10. อย่าที่จะถามคำถามกับแฮกเกอร์ที่มีประสบการณ์มากกว่า แต่ก็อย่าหวังว่าจะมีคนตอบคำถามให้คุณทั้งหมด
11. จงแฮก เริ่มต้นทำ อ่านข้อมูลใด ๆ ก็ได้ที่สนใจ
12. กรณีที่ถูกจับ ขอให้ปิดปากเงียบไว้ก่อน และรีบติดต่อทนาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น