วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บุคคลสำคัญทางคอมพิวเตอร์ในต่างประเทศ


บุคคลสำคัญทางคอมพิวเตอร์

จอห์น เนเปียร์ (Neper John Napier ค.ศ. 1550-1617)

จอห์น เนเปียร์ นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ เกิดในปี พ.ศ. 2093 ที่ Merchiston Castle, Edinburgh, Scotland เนเปียร์ ได้สร้างตารางการคูณบนชุดของแท่งต่างๆ แต่ละด้านบรรจุตัวเลขที่สัมพันธ์กันในลักษณะความก้าวหน้าเชิงคณิตศาสตร์ สามารถหาค่ารากที่สอง รากที่สาม และสามารถคูณหรือหารเลขจำนวนมากๆ และการยกกำลังจำนวนมาก ๆ ให้ได้ผลลัพธ์ถูกต้องและรวดเร็วได้ และได้แปลงปัญหาของการคูณที่ซับซ้อนไปเป็นปัญหาการบวกที่ง่ายขึ้น เครื่องมือที่เรียกว่า สไลด์รูล (slide rule) เพื่อใช้ในการคูณ และเครื่องมือนี้เป็นต้นกำเนิดของ แอนาล็อกคอมพิวเตอร์(analog computer)
นักคณิตศาสตร์มิได้ถือว่าแท่งของเนเปียร์นี้เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เนเปียร์ได้มอบให้แก่วงการวิทยาศาสตร์ แม้ว่าจะมีผู้ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วยุโรป แต่เขากลับเป็นผู้ที่รู้จักดีในฐานะผู้ประดิษฐลอกาลิทึม
เขาได้สร้างตารางลอการิทึม(logarithms) ฐาน e ขึ้น และ พ.ศ. 2160 ได้มีการดัดแปลงเครื่องมือเพื่อประโยชน์ในการคูณ หาร และการถอดกรณฑ์ (root) เรียกว่า Napier’s bone ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งไม้สี่เหลี่ยม หนึ่งชุดจะประกอบด้วยแท่งไม้จำนวน 9 แท่ง

จอห์น เนเปียร์ เสียชีวิตทึ่เมือง Edinburgh, Scotland เมื่อวันที่ 4เมษายน พ.ศ. 2160 รวมอายุได้ 67 ปี


แบลส ปาสกาล


แบลส ปาสกาล (ฝรั่งเศส: Blaise Pascal) เกิดเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2166 (ค.ศ. 1623) ที่เมือง Clermont (ปัจจุบันคือเมือง Clermont - Ferrand) ประเทศฝรั่งเศส เสียชีวิตเมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2205 ค.ศ. 1662 ที่เมือง ปารีส ประเทศฝรั่งเศส

แบลส ปาสกาล คือนักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักปรัชญาผู้เคร่งครัดในศาสนา ปาสกาลเป็นเด็กที่มหัศจรรย์มีความรู้เหนือเด็กทั่ว ๆ ไปโดยได้ศึกษาเล่าเรียนจากพ่อของเขาเอง ปาสกาลจะตื่นทำงานแต่เช้าตรู่ท่ามกลางธรรมชาติโดยมักเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างเครื่องคิดเลขและการศึกษาเกี่ยวกับของเหลว ทำให้เขาเข้าใจความหมายของความดันและสุญญากาศด้วยการอธิบายของ อีวันเกลิสตา ตอร์ริเชลลี ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของกาลิเลโอ

ปาสกาลเป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่โด่งดังที่สุดในวงการคณิตศาสตร์ เขาสร้างสองสาขาวิชาใหม่ในการทำรายงาน เขาเขียนหนังสือที่สำคัญบนหัวข้อผู้ออกแบบเรขาคณิตเมื่ออายุเพียง 16 ปีและยังติดต่อกับ ปิแยร์ เดอ แฟร์มาต์ ในปี พ.ศ. 2197 (ค.ศ. 1654) เกี่ยวกับทฤษฎีความน่าจะเป็น ความมั่นคง อิทธิพลของการพัฒนาของเศรฐกิจสมัยใหม่และวิทยาศาสตร์สังคม ประสบการณ์อันน่ามหัศจรรย์ในปี พ.ศ. 2197 (ค.ศ. 1654) ปาสกาลออกจากวงการคณิตศาสตร์และฟิสิกส์โดยอุทิศตัวเพื่องานเขียนเกี่ยวกับปรัชญาและศาสนา สองงานของเขามีชื่อเสียงมากในช่วงเวลานั้นคือLettres provinciales และ Pens?es อย่างไรก็ตามเขาได้รับโรคร้ายเข้าสู่ร่างกาย และได้เสียชีวิตหลังจากงานวันเกิดครบรอบอายุ 39 ปีเพียงสองเดือน


กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ


กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ฟอน ไลบ์นิซ (อังกฤษ: Gottfried Wilhelm von Leibniz) (1 กรกฎาคม ค.ศ. 1646 (พ.ศ. 2189) ในเมืองไลป์ซิก ประเทศเยอรมนี 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1646 - 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1716 (พ.ศ. 2259)) เป็นนักปรัชญา, นักวิทยาศาสตร์, นักคณิตศาสตร์, นักการทูต, บรรณารักษ์ และ นักกฎหมาย ชาวเยอรมันเชื้อสายเซิบ เขาเป็นคนที่เริ่มใช้คำว่า "ฟังก์ชัน" สำหรับอธิบายปริมาณที่เกี่ยวกับเส้นโค้ง เช่น ความชันของเส้นโค้ง หรือจุดบางจุดของเส้นโค้งดังกล่าว ไลบ์นิซและนิวตันได้รับการยกย่องร่วมกันว่าเป็นผู้เริ่มพัฒนาแคลคูลัส โดยเฉพาะส่วนของไลบ์นิซในการพัฒนาปริพันธ์และกฎผลคูณ

ชาร์ลส แบบเบจ


ชาร์ลส แบบเบจ (อังกฤษ: Charles Babbage) เกิดปี ค.ศ. 1791 (พ.ศ. 2334) ที่อังกฤษ ในครอบครัวของนายธนาคาร แบบเบจเติบโตมาในยุคที่อังกฤษเป็นมหาอำนาจ และกำลังอยู่ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลสนับสนุนให้ทุนการพัฒนาในสาขาต่าง ๆ อย่างเต็มที่. แบบเบจศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่ ทรินิตี้ คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ที่คณะคณิตศาสตร์ (Mathematical Laboratory).

ช่วงเป็นนักศึกษา เขารวมกลุ่มกับเพื่อน ทำ induction of the Leibnitz notation for the Calculus ขึ้นจนมีชื่อเสียง ทำให้มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอน. พอเรียนจบ แบบเบจก็ตัดสินใจเป็นอาจารย์ต่อที่คณะ. ในปี ค.ศ. 1814, แบบเบจสมรสกับ Geogiana Whitmore นักคณิตศาสตร์หญิงคนเก่งคนหนึ่งในยุคนั้น.

ในทางคณิตศาสตร์ แบบเบจเน้นศึกษาด้านแคลคูลัสเป็นพิเศษ. ปี ค.ศ. 1816 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Fellow ของ Royal Society. ปี ค.ศ. 1820 เขาตั้งชมรมด้านดาราศาสตร์ขึ้น พร้อม ๆ กับเริ่มทำงานวิจัยสำคัญของเขาในยุคต้น ที่ทำให้เขาโด่งดังมากคือ Difference Engine (ใช้ Newton's method of successive differences). ในปี ค.ศ. 1828 แบบเบจได้รับแต่งตั้งให้เป็น the Lucasian Chair of Mathematics at Cambridge (เหมือนกับ เซอร์ ไอแซก นิวตัน และ สตีเฟ่น ฮอว์คิง) ต่อมา แบบเบจขยายงานมาศึกษาเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) เพื่อสร้างเป็น เครื่องจักรที่สามารถรองรับการคำนวณทุกชนิด (ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์) แต่ก็เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น เพราะเขาไม่สามารถสร้างออกมาในช่วงที่เขามีชีวิตอยู่ เนื่องจากมีคนไม่เห็นด้วยมากมาย เพราะความคิดของเขาทันสมัยเกินกว่าเทคโนโลยีในยุคนั้น จนทุก ๆ คนคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ จึงโดนตัดงบวิจัยในปี ค.ศ. 1832. แต่แบบเบจก็ฝืนทำต่อแบบไม่มีงบประมาณ จนทำไม่ไหว จนต้องปิดโครงการนี้ไป ในปี ค.ศ. 1842.

พอปี ค.ศ. 1856, แบบเบจก็เริ่มมีฐานะขึ้นมาจากงานอื่นๆ เพราะนอกจากเป็นนักคณิตศาสตร์แล้ว เค้าก็ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี การเมือง และเศรษฐกิจ อีกด้วย (เป็น a Celebrated Policial Economist แห่งยุค) เขาจึงเอาเงินทุนมาลงทุนทำวิจัยด้านเครื่องวิเคราะห์ต่อ แต่ก็ต้องทำและแก้หลายครั้ง จนเขาเสียชีวิตไปในปี ค.ศ. 1871 (แล้วลูกชายเขามาสานต่อ). ช่วงก่อนตาย เขาเขียนหนังสือชื่อดัง (ดังยุคหลัง) ชื่อ Passages from the life of a Philosopher เพราะในปีที่เขาเสียชีวิต โลกยังไม่ค่อยรู้จักเขา. เครื่องวิเคราะห์ของเขาไม่มีคนสนใจลงมือสร้างเป็นชิ้นเป็นอัน จนกระทั่งอีกประมาณ 40 ปีต่อมา หลังจากเขาตาย มีคนเอางานเขาไปเผยแพร่จนเป็นที่ชื่นชม แล้วคนยุคหลังก็นำสมองของเขา (ที่ดองเอาไว้ในแอลกอฮอล์) มาผ่าเพื่อศึกษาความสามารถในการคิดของเขา (ถูกนิยามไว้ว่าเป็น one of the most profound thinker of the century).

ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ แบบเบจเชื่อว่า โลกเรานี้สามารถวิเคราะห์ทำนายได้ (a world where all things were dutifully quantified and could be predicted) โดยได้รับความสนับสนุนจาก Laplace ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทในวงการว่า ถ้าจิตใจมนุษย์สามารถเข้าใจพฤติกรรมของอนุภาคเล็กๆ มันจะอธิบายทุกอย่างได้ (if a mind could know everything about particle behavior, if could describe everything: nothing would be uncertain, and the future, as the past, could be present to our eyes). ปี ค.ศ. 1856, แบบเบจเสนองาน "Table of Constants of the Nature and Art" ที่อ้างว่า รวบรวมข้อเท็จจริงทุกอย่าง สำหรับอธิบายศาสตร์ทางวิทย์และศิลป์ ด้วยตัวเลข

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
แบบเบจชอบไฟมาก ขนาดลองเอาเตาอบมาอบตัวเองเล่นที่ 265 องศาฟาเรนไฮต์เป็นเวลา 5-6 นาที หรือพยายามปีนภูเขาไฟเวซูเวียส เพื่อที่จะไปดูลาวาเดือด ๆ


เลดี้ เอดา ออกัสตา ลัฟเลซ


เลดี้ เอดา ออกัสตา ลัฟเลซ (Lady Ada Augusta Lovelace) นักคณิตศาสตร์ผู้ร่วมงานของแบบเบจ เป็นผู้ที่เข้าใจในผลงานและแนวความคิดของแบบเบจ จึงได้เขียนบทความอธิบายเทคนิคของการเขียนโปรแกรม วิธีการใช้เครื่องเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เป็นครั้งแรก ทำให้เกิดความเข้าใจในผลงานของแบบเบจได้ดีขึ้น Ada จึงได้รับการยกย่องให้เป็น นักโปรแกรมคนแรกของโลก

ยอร์ช บูล

ยอร์ช บูล (George Boole) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้สร้างแนวคิดเกี่ยวกับระบบพีชคณิตแบบใหม่ เรียกว่า Boolean Algebra เพื่อใช้หาข้อเท็จจริงจากเหตุผลต่าง ๆ และแต่งตำราเรื่อง “The Laws of Thoughts” ว่าด้วยเรื่องของการใช้เครื่องหมาย AND, OR, NOT ซึ่งเป็นรากฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับการพัฒนาทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สวิตช์ปิดหรือเปิด การไหลของกระแสไฟฟ้า ไหลหรือไม่ไหล ตัวเลขจำนวนบวกหรือลบ เป็นต้น โดยที่ผลลัพธ์ที่ได้จากพีชคณิตจะมีเพียง 2 สถานะคือ จริงหรือเท็จเท่านั้น ซึ่งอาจจะแทนจริงด้วย 1 และแทนเท็จด้วย 0


Alan Mathison Turing
อลัน มาธิสัน ทัวริง


เกิด วันที่ 23 มิ.ย. 1912 ที่กรุงลอนดอน อังกฤษ
เสียชีวิต วันที่ 7 มิ.ย. 1954 ที่เมืองวิล์มสโล อังกฤษ

ผลงาน : ทฤษฎีความสามารถคำนวณได้ของคอมพิวเตอร์ (Computability) , การทดสอบความฉลาดของคอมพิวเตอร์ (Turing test), เครื่องจักรทัวริง (universal Turing machine)

อลัน ทัวริง (Alan Turing) คิดค้นเครื่องจักรทัวริง (Turing machine) เครื่องมือในฝันที่สามารถทำอะไรได้ทุกอย่าง ถ้าเพียงแต่เราจะใส่วิธีทำลงไป ซึ่งกลายเป็นต้นแบบแรกเริ่มของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ทัวริงแมชชีนเป็นเครื่องมือมหัศจรรย์ เพราะเป็นครั้งแรกที่เราแยก "อุปกรณ์" ออกจาก "ความสามารถของอุปกรณ์" นั้นได้ การทำงานของเครื่องไม่ได้ถูกกำหนดมาล่วงหน้า แต่ขึ้นอยู่กับวิธีทำหรืออัลกอริทึมที่แนบมาด้วย

เครื่องจักรทัวริงนั้นไม่้ยุ่งยาก ทำงานเป็นเหมือนเครื่องอ่านม้วนกระดาษยาวๆ (หรือเทป) ลองคิดดูว่าเรามีกระดาษเก็บข้อมูลยาวๆ ไม่สิ้นสุด บนกระดาษจะบันทึกเลขสองตัวคือ ศูนย์และหนึ่ง เช่น ...0011011000100... ทัวริงแมชชีนมีหัวอ่านค่าในกระดาษนี้ ที่บอกว่าตอนนี้กำลังอ่านเลขตัวไหนอยู่ตรงไหน และรู้ว่าตอนนี้อยู่ในสถานะใด (ทัวริงแมชชีนมีได้หลายสถานะ แล้วแต่ข้อมูลที่กำลังอ่านอยู่) วิธีทำที่แนบมาด้วยสามารถสั่งให้ทัวริงแมชชีนทำงานได้สี่ประการ


Dr. John V. Atanasoff
ดร. จอห์น วี. อะทานาซอฟฟ์


(1903-1995 )

ผลงานเด่น : ABC ,คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรก

จอห์น วี. อะทานาซอฟฟ์ (John V. Atanasoff) เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ.1903 ที่เมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ท่านเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไฟฟ้าเป็นคนแรก คือเครื่อง ABC เมื่อปี ค.ศ. 1937 (ก่อนหน้านี้เป็นคอมพิวเตอร์แบบเครื่องจักรกล) ในขณะนั้นเขาอาจไม่รู้ว่าผลงานของเขาจะมีบทบาทต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ในอนาคตมากมายขนาดนี้ เขาได้เปิดประตููสู่ยุคคอมพิวเตอร์ีให้กับคนรุ่นหลังได้พัฒนาต่อยอดมาจนกลายเป็น คอมพิวเตอร์ในปัจุบัน

ท่านเสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 1995


Jonathan Bruce Postel
โจนาธาน บรูซ โพสเทล


เกิดวันที่ 6 สิงหาคม 1943, USA
เสียชีวิตวันที่ 16 ตุลาคม 1998 ที่ลอสแองเจิลลิส USA

ผลงาน : อินเตอร์เน็ต (internet)

โจนาธาน บรูซ โพสเทล (Jonathan Bruce Postel) เป็นบุคคลสำคัญในการสร้างมาตรฐานในการสื่อสารคอมพิวเตอร์ผ่านอินเตอร์เน็ตหลายอย่าง มาตรฐานต่าง ๆ เหล่านี้เขาได้เขียนไว้ในเอกสารชุด RFC เช่น โปรโตคอลหรือข้อตกลงในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต


Clive Sinclair
ไคลฟ์ ซินแคลร์


เกิดวันที่ 30 กรกฎาคม 1949

ผลงาน: ไมโครโพรเซสเซอร์ชุด ZX80 ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กลงและราคาต่ำลง ทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้

เกิดที่เมืองริชมอนด์ เขาสนใจเรื่องไฟฟ้ามาตั้งแต่เด็ก เขามีบริษัทชื่อ Sinclair Radionics ซึ่งประดิษฐ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออกสู่ตลาด เช่น เครื่องคิดเลขขนาดประเป๋า นาฬิกาดิจิตอล และที่สำคัญคือไมโครโพรเซสเซอร์ชุด ZX80 ซึ่งถือว่าเล็กที่สุดในโลกขณะนั้น ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กลงและราคาต่ำลง จนสามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อใช้ในบ้านหรือที่ทำงานได้ นั่นคือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล


Grace Murray Hopper
เกรซ มัวเรย์ ฮอปเปอร์



เกิด: นิวยอร์ค เมื่อ 9 ธันวาคม1906
เสียชีวิต : เวอร์จิเนีย เมื่อ 1มกราคม 1992

ผลงาน : ภาษาโคบอล (COBOL : Common Business-Oriented Language)

เกรซ มัวเรย์ ฮอปเปอร์ (1906-1992) เป็นเจ้าหน้าที่ทหารเรือสหรัฐ นักคณิตศาสตร์ และเป็นผู้บุกเบิกการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เธอเกิดที่เมืองนิวยอร์ค และเรียนที่มหาวิทยาลัยเยล ทั้งบิดาและมารดาของเธอเป็นแรงผลักดันที่สำคัญ ทั้งคู่์ชอบวิชาคณิตศาสตร์และได้ส่งเสริมและสอนฮอปเปอร์เช่นเดียวกัน ฮอปเปอร์ใช้เวลาครึ่งศตวรรษในการทำงานอันยิ่งใหญ่คือช่วยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี เธอได้รับมอบหมายให้เป็นนักเขียนโปรแกรมสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ Mark I (มาร์ค-วัน) ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เครื่องแรกของสหรัฐและยังเป็นคอมพิวเตอร์จักรกล แต่ผลงานที่น่าจดจำของเธอคือสร้างคอมไพเลอร์ (โปรแกรมแปลภาษาคล้ายที่มนุษย์ใช้ไปเป็นภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ) ครั้งแรกในปี 1952 ในขณะที่เธอทำงานที่บริษัท Eckert-Mauchly Computer จากนั้นเธอได้ร่วมมือกับผู้ร่วมงานคนอื่น ๆ สร้างภาษาสำหรับคำนวณเชิงธุรกิจภาษาแรกคือ ภาษาโคบอล (COBOL: Common Business-Oriented Language) ที่ใช้ในเครื่อง UNIVAC ภาษานี้นับว่าเป็นสะพานเชื่อมระหว่างความต้องการของนักธุกิจกับนักเขียนโปรแกรม

นอกจากนี้ ฮอปเปอร์เคยเป็นอาจารย์สอนการเขียนโปรแกรม และเป็นที่ปรึกษาของบริษัท DEC (Digital Equipment Corporation)

เกร็ดความรู้ : นักเขียนโปรแกรมคงจะรู้จักคำว่า bug และ debug เป็นอย่างดี คำนี้คนใช้คนแรกคือ ฮอปเปอร์

ประวัติคอมพิวเตอร์ 5 ยุค


ยุคที่ 1 คอมพิวเตอร์ยุค หลอดสูญญากาศ (ค.ศ. 1945-1958)
อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์เครื่องแรกมีรูปร่างอย่างไร

ความคิดฝันของชาลส์ แบบเบจ กลายเป็นความจริงในเวลา 70 ปี หลังจากที่เขาสิ้นชีวิตลง เมื่อนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยฮาร์ดวาร์ด ชื่อ โฮเวิร์ด ไอเกน เริ่มสร้างเครื่องคำนวณชื่อ มาร์ค-วัน (Mark I) ในปี ค.ศ. 1941 ซึ่งใช้กลุ่มของรีเลย์เครื่องกลไฟฟ้า ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์เปิดและปิด เครื่องมาร์ค-วัน มีขนาดกว้าง 2.4 เมตร ยาว 15.2 เมตร สามารถบวกและลบ 3 ครั้งหรือคูณ 1 ครั้ง เสร็จใน 1 วินาที และใช้เวลาเพียง 1 วันสำหรับแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ที่คนหนึ่งคนสามารถทำได้ด้วยเครื่องบวกเลขในเวลาถึง 6 เดือน แต่ในเวลาไม่นานมาร์ค-วัน ก็ถูกแซงขึ้นหน้าโดยเครื่องเอ็นนีแอค (ENIAC) ซึ่งใช้หลอดสูญญากาศแทนสวิตซ์ เจ.พี.เอ็คเคริด และจอนห์น มอชลี แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียได้เปิดเผยโฉมหน้าของอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์เมื่อวันที่ 14 ก.พ. ค.ศ. 1946 เครื่งนี้สามารถคำนวณได้เร็วกว่าเครื่องจักรทุกรุ่นที่สร้างขึ้นก่อนหน้านั้นถึง 1,000 เท่า โดยการบวกและลบ 5,000 ครั้ง คูณ 350 ครั้ง หรือหาร 50 ครั้งต่อหนึ่งวินาที แต่ขนาดของเครื่องก็ใหญ่ประมาณสองเท่าของเครื่องมาร์ค-วัน ปรรจุเต็มตู้ 40 ตู้ ด้วยชิ้นส่วนถึง 100,000 ชิ้น ซึ่งรวมถึงหลอดสูญญากาศประมาณ 17,000 หลอด มีน้ำหนัก 27 ตัน ขนาดกว่าง 5.5 เมตร ยาว 24.4 เมตร

ยุคที่ 2 คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์ (ค.ศ.1957-1964)
นักวิทยาศาสตร์ของห้องปฏิบัติการเบลแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์สำเร็จ ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการสร้างคอมพิวเตอร์ เพราะทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กใช้กระแสไฟฟ้าน้อย มีความคงทนและเชื่อถือได้สูง และราคาถูก คอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ จะมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการผลิตคอมพิวเตอร์เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์

สำหรับประเทศไทยมีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในยุคนี้ ค.ศ. 1964 โดยจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยนำเข้ามาใช้ในการศึกษา ในระยะเวลาเดียวกันสำนักงานสถิติแห่งชาติก็นำมาเพื่อใช้ในการคำนวณสำมะโนประชากร นับเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ในประเทศไทย

ยุคที่ 3 คอมพิวเตอร์ยุควงจรรวม (ค.ศ.1965-1969)
ประมาณปี ค.ศ. 1965 ได้มีการพัฒนาสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนมากลงบนแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก และเกิดวงจรรวมบนแผ่นซิลิกอนที่เรียกว่า ไอซี การใช้ไอซีเป็นส่วนประกอบทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง ราคาถูกลง จึงมีบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กลง เรียกว่า "มินิคอมพิวเตอร์"

ดังนั้นคอมพิวเตอรใน์ยุคที่สาม เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมาย
ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง

ยุคที่ 4 คอมพิวเตอร์ยุควีแอลเอสไอ (ค.ศ.1970-1989)
เทคโนโลยีทางด้านการผลิตวงจรอิเล็กทรอนิคส์ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างวงจรรวมที่มีขนาดใหญ่มารวมในแผ่นซิลิกอน เรียกว่า วีแอลเอสไอ (Very Large Scale Intergrated circuit : VLSI) เป็นวงจรรวมที่รวมเอาทรานซิสเตอร์จำนวนล้านตัวมารวมอยู่ในแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก และผลิตเป็นหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน เรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor)

การใช้ VLSI เป็นวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงขึ้น เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องที่แพร่หลายและมีผู้ใช้งานกันทั่วโลก

การที่คอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูง เพราะ VLSI เพียงชิพเดียวสามารถสร้างเป็นหน่วยประมวลผลของเครื่องทั้งระบบหรือเป็นหน่วยความจำที่มีความจุสูงหรือเป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานต่าง ๆ ขณะเดียวกันพัฒนาของฮาร์ดดิสก์ก็มีขนาดเล็กลงแต่ราคาถูกลง เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลงปาล์มทอป (palm top) โน็ตบุ๊ค (Notebook)

ยุคที่ 5 คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย (ค.ศ.1990-ปัจจุบัน)
เมื่อไมโครคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูงขึ้น ทำงานได้เร็ว การแสดงผล การจัดการข้อมูล สามารถประมวลได้ครั้งละมาก ๆ จึงทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงานพร้อมกัน (multitasking) ขณะเดียวกันก็มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์การโดยใช้เครือข่ายท้องถิ่นที่เรียกว่า Local Area Network : LAN เมื่อเชื่อมหลายๆ กลุ่มขององค์การเข้าด้วยกันเกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ เรียกว่า อินทราเน็ต และหากนำเครือข่ายขององค์การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายสากลที่ต่อเชื่อมกันทั่วโลก เรียกว่า อินเตอร์เน็ต (internet)

คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันจึงเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกัน ทำงานร่วมกัน ส่งเอกสารข้อความระหว่างกัน สามารถประมวลผลรูปภาพ เสียง และวิดีทัศน์ ไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จึงทำงานกับสื่อหลายชนิดที่เรียกว่าสื่อประสม (Multimedia) และคอมพิวเตอรในยุคที่ห้า นี้เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

ประวัติแฮกเกอร์



เดิมทีคำว่า แฮกเกอร์ มิได้มีความหมายในแงลบที่หมายถึงผู้ที่ลักลอบเจาะระบบคอมพิวเตอร์ คำคำนี้ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อราว 30 ปีที่แล้วโดยกลุ่มวิศวกรและโปรแกรมเมอร์ที่ร่วมกันค้นคิดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและเครือข่ายอินเทอร์เน็ตขึ้น พวกเขาเรียกตัวเองว่าแฮกเกอร์ชาวแฮกเกอร์มีหลักการชุดหนึ่งที่ยึดถือร่วมกัน คือ

1. คอมพิวเตอร์เป็นทรัพย์สินสาธารณะที่ทุกคนสามารถใช้ได้ แก้ไข ปรับปรุง และทดลองได้
2. ข้อมูลความรู้เป็นของสาธารณะไม่ใช้ของส่วนบุคคล ไม่ควรมีราคา
3. ไม่ไว้วางใจผู้มีอำนาจ ส่งเสริมการกระจายอำนาจ
4. แฮกเกอร์ต้องถูกตัดสินจากความสามารถของเขา ไม่ใช่ด้วยวุฒิการศึกษา วัยวุฒิ ตำแหน่ง หรือเชื้อชาติ
5. ทุกคนล้วนมีสิทธิในการสร้างสรรค์สิ่งดีงามด้วยคอมพิวเตอร์
6. คอมพิวเตอร์สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นได้

พวกเขาเรียกหลักการเหล่านี้ว่า "จรรยาบรรณของแฮกเกอร์" อินเทอร์เน็ตจากกำเนิดถึงปัจจุบันแฮกเกอร์สร้างระบบอินเทอร์เน็ตขึ้นเพื่อให้เป็นพื้นที่สาธารณะอย่างแท้จริงที่ทุกคนสามารถใช้สร้างสรรค์ ทดลอง และจัดการประโยชน์ส่วนรวมร่วมกันอย่างเสรีและเท่าเทียม โดยปลอดจากการควบคุมใดๆ ไม่ว่าจะเป็นจากอำนาจรัฐหรือเอกชน

ดังนั้นพวกเขาจคงออกแบบระบบอินเทอร์เน็ตด้วยโครงสร้างที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจ เป็นระบบเปิด ( Oper Source ) ที่มอบอำนาจการจัดการทั้งหมดให้กับผู้ใช้ไม่ใช่แต่เพียงผู้เชี่ยวชาญ เชื่อมต่อกันเองได้โดยตรง ( Peer to Peer ) พร้อมกับลดอำนาจของตัวกลางในการปิดกั้นการเชื่อมต่อ ( End to End Principle )

ในช่วงเริ่มต้นนั้น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจำกัดอยู่แต่เพียงนักออกแบบคอมพิวเตอร์มืออาชีพเท่านั้น จวบจนในปี 2517 เมื่อ "อัลทาร์" ชุดอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นแรกของโลกที่ให้ผู้ใช้สามารถประกอบและดัดแปลงได้เองเริ่มออกวางขาย ทำให้เกิดประชากรนักออกแบบคอมพิวเตอร์มือสมัครเล่นขึ้นอีกมากมาย และพวกเขาก็ได้กลายเป็นสมาชิกส่วนสำคัญของชุมชนอินเทอร์เน็ตในเวลาต่อมา

และคุณเชื่อหรือไม่ว่าเมื่อมีจรรยาบรรณแฮกเกอร์แล้ว แฮกเกอร์ก็มีบัญญัติ 12 ประการ ด้วยเช่นกัน.... นั้นก็คือ

1. จงอย่าทำลายข้อมูลใด ๆ ของระบบด้วยความจงใจ

2. จงอย่าพยายามเปลี่ยนแปลงไฟล์ใด ๆ ของระบบ นอกเสียจากว่าจำเป็นต้องทำ เพื่อไม่ให้ถูกแกะรอย หรือเพื่อให้สามารถกลับมาในระบบได้อีกครั้ง
3. จงอย่าทิ้งชื่อจริง หมายเลขโทรศัพท์ไว้บนระบบที่คุณแอบเข้าไป เพราะข้อมูลเหล่านี้จะนำมาซึ่งความไม่ปลอดภัย
4. พึงระวังในการแชร์ข้อมูลกับคนที่คุณไม่รู้จักอย่างแท้จริง ไม่รู้ชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ และ อาชีพ
5. อย่าบอกหมายเลขโทรศัพท์ของคุณให้ใครทราบ

6. จงอย่าพยายามแฮกเช้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ เนื่องจากระบบเหล่านี้มักมีระบบรักษาความปลอดภัยสูงอยู่แล้ว นอกจากนี้คุณจะถูกตามล่าจนได้ ต่างจากระบบของเอกชนที่มักคำนึงถึงผลกำไรและค่าใช้จ่ายในการตามล่า ถ้าคุณไม่ได้เข้าไปทำลายข้อมูลที่สำคัญแล้ว เขาก็มักไม่เสียเวลามาตามล่าคุณ
7. ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้โค้ดหรือรหัสใด ๆ ที่ยาวเกินความจำเป็น
8. จงอย่าตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ข้อมูลใด ๆ ที่เก็บอยู่บนฮาร์ดดิสก์ให้พยายามเข้ารหัสเอาไว้เสมอ เพราะถ้าถูกจับจะไม่มีเวลาทำ พยายามซ้อนโน้ตต่าง ๆ ที่จดไว้ในที่ ๆ ปลอดภัย
9. พึ่งระมัดระวังการโพสต์ข้อมูลหรือข่าวบนกระดานข่าว ปกติแล้วแฮกเกอร์มืออาชีพจะไม่โพสต์ข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบที่เขาใช้งานอยู่ หรือถ้าจะโพสต์ก็มักไม่ระบุชัดเจน ส่วนใหญ่เป็นข้อความทั่ว ๆ ไปมากกว่า
10. อย่าที่จะถามคำถามกับแฮกเกอร์ที่มีประสบการณ์มากกว่า แต่ก็อย่าหวังว่าจะมีคนตอบคำถามให้คุณทั้งหมด
11. จงแฮก เริ่มต้นทำ อ่านข้อมูลใด ๆ ก็ได้ที่สนใจ
12. กรณีที่ถูกจับ ขอให้ปิดปากเงียบไว้ก่อน และรีบติดต่อทนาย

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์



เราสามารถแบ่งไวรัสที่มีอยู่มากกว่า แปดพันชนิด ตามลักษณะแหล่งที่อยู่ และการฝังตัวของมันได้ดังนี้

  1. ไวรัสที่ฝังตัวอยู่ตามบูตเซ็ก เตอร์ของแผ่นดิสก์และตารางพาร์ติชัน
  2. ทุกครั่งทีทำการเปิดเครื่อง ระบบจัดการของคอมพิวเตอร์จะอ่านข้อมูลจากบูตเซ็กเตอร์ และโหลดเข้าไปในหน่วยความจำก่อน เสมอ ทำให้ไวรัสประเภทนี้ถูกโหลดไปหลบซ่อนในหน่วยความจำเพื่อรจังหวะแพร่กระจาย ต่อไปยังแผ่นดิสก์

    ไวรัสประเภท ไม่สามารถทำลายได้โดยการเปิดเครื่องใหม่ เพราะมันจะเริ่มอยู่ในหน่วยความจำตั้งแต่เปิดเครื่อง และจะเมทำงานตลอดเวลานับจากนั้น

  3. ไวรัสที่เกาะตามไฟล์
  4. ส่วนมากจะเกาะติดไฟล์ที่มีสกุล .COM และ .EXE คือเมื่อมีการใช้งานโปรแกรม .COM .EXE ไวรัสประเภทนี้จะแยกตัวไปซ่อนอยู่ในหน่วยความจำ แล้วหาทางเกาะติดไฟล์ที่มีนามสกุลดังกล่าว ที่เก็บไว้ในแผ่นดิสก์

  5. ไวรัสที่ฝังตัวอยู่ในไฟลCOMMAND.COM
  6. ไฟล์นี้เป็น ไฟล์ คำสั่งพื้นฐานที่มีอยู่ในระบบปฏิบัติการ เช่น เมื่อไปใช้งานในโหมด DOS Prompt แล้วไฟล์คำสั่ง COMMAND จะทำหน้าที่แปลคำสั่งนั้นให้เป็นภาษาเครื่องเข้าใจ เช่น คำสั่ง DEL,REN,DIR,COPY เป็นต้น จากการที่ไฟล์นี้ทำงานบ่อย ๆ นี่เอง ทำให้กระจายไปได้อย่างกว้างขวาง ทำลายยากกว่าไวรัสประเภทแรก

  7. ไวรัสที่แฝงตัวอยู่ในหน่วยความ จำ
  8. ไวรัสประเภทนี้จะฝังติดอยู่ในหน่วย ความจำ และรอจนกว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่เหมาะสมของสภาพแวดล้อม ไวรัสนี้ก็จะเริ่มทำงานทันที

  9. ไวรัสประเภททำลายเฉพาะไฟล์

ไวรัสประเภทนี้เกาะติดไฟล์โปรแกรมไป เรื่อย ๆ และเมื่อพบไฟล์ที่ต้องการก็จะเริ่มทำงานไม่ว่าจะเป็นการแก้ไข การทำลาย การเคลื่อนย้าย เป็นไวรัสที่ร้ายแรงต่อเศรษฐกิจมากกว่าไวรัสประเภทอื่น ๆ กว่าจะพิสูจน์ได้ว่าติดไวรัสแล้ว ข้อมูลที่สำคัญของผู้ใช้ก็อาจหายไปหมดแล้ว